Natural Health

🌿 Want to REVERSE Aging & Supercharge Your Body Naturally?

👉 Discover the Natural Secret Everyone’s Talking About...

🔓 Unlock the Secret to Feeling 20 Years Younger – Only on the Natural Health Blog!

Wednesday, July 22, 2020

โภชนาการอาหารชีวจิต

“อาหาร” ที่คุณรู้จัก

ใครๆ ก็รู้จักคำว่า “อาหาร” แต่จะมีซักกี่คนที่เข้าใจกับคำๆ นี้ อย่างแท้จริง เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจน จึงขออธิบายว่า หมู เห็ด เป็ด ไก่ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “อาหาร” (Food) เมื่อมันยังไม่ถูกส่งเข้าปากของเรา แต่เมื่อเรากินมันเข้าไปแล้ว อาหารเหล่านี้ จะถูกเปลี่ยนสภาพโดยกระบวนการย่อยของร่างกาย เริ่มจากการบดเคี้ยว และเอนไซม์ในปาก แล้วเคลื่อนจากปากลงสู่กระเพาะอาหาร และจากกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้เล็ก ที่ลำไส้เล็กนี่เองที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสภาพจากอาหาร (Food) ให้เป็นสารอาหาร (Nutrient) อย่างสมบูรณ์ และบทบาทสำคัญของสารอาหารนี่แหละที่ทำหน้าที่ดูแล และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย รวมทั้งช่วยบำบัด และรักษาร่างกายยามเจ็บป่วยด้วย

You are what you eat….คุณเคยได้ยินหรือไม่???

อาหารแต่ละจานที่เรารับประทานเข้าไป แน่นอนว่าย่อมมีทั้งประโยชน์ และโทษ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ เครื่องปรุง วิธีการปรุง และปริมาณที่บริโภค รวมทั้งสภาพร่างกายของแต่ละคน แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดทางเลือกในการบริโภคที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เมื่อเรามีสิทธิ์เลือก เราก็ต้องเลือกอาหารที่ถูกปากมากกว่าอาหารที่ถูกหลักโภชนาการอยู่แล้ว แม้ว่าหลายคนจะทราบดีอยู่แล้วว่าการกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการต้องกินอย่างไร แต่เพราะรสชาติของอาหารจานโปรดนี่แหละ ที่พาเราเกิดกิเลส และยอมละทิ้งอาหารที่ให้ประโยชน์มากกว่า

ดังที่ ฮิปโปเครติส (Hippocrates) บิดาของวงการแพทย์ กล่าวไว้ว่า “You are what you eat…คุณกินอะไรเข้าไป คุณก็เป็นอย่างนั้น” หากคุณเลือกกินอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ร่างกายของคุณก็จะแข็งแรง ปลอดโรค แต่หากคุณกินไม่เลือก เมื่ออาหารที่ไม่ดีเข้าสู่ร่างกายของคุณในปริมาณที่มากเกินพอดี อาหารเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นขยะ เป็นสารพิษที่สะสมในร่างกาย และไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ อย่างเช่น

• การกินแป้ง น้ำตาล มากเกินไป ทำให้เป็นเบาหวาน

• การกินอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป ทำให้เป็นโรคไต

• การกินอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ทำให้เป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น

ฉะนั้น การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ อย่างอาหารชีวจิต จึงเป็นอีกทางเลือกในการดูแลสุขภาพอย่างชัดเจนอีกทางหนึ่ง หลายคนคงสงสัยกับคำว่า “ชีวจิต” ว่าจริงๆ แล้ว หมายถึงอะไร แล้วเกี่ยวข้องกับสุขภาพของเราได้อย่างไร???

“ชีวจิต”…สุขภาพทางเลือก

ชีวจิต เป็นแนวความคิดเรื่องสุขภาพแบบองค์รวม คือ ผนวกรวมเอา “ชีว” ที่หมายถึง “กาย” รวมเข้ากับ “จิต” ที่หมายถึง “ใจ” ซึ่งทั้งสองส่วนย่อมมีผลต่อกันโดยตรง และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ หรืออธิบายได้ว่า คนเราจะมีความสุข ความแข็งแรงได้ ก็ต่อเมื่อกาย และใจ ทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้ชีวิตให้เป็นไปตามธรรมชาติให้มากที่สุด

เมื่อนำแนวทางการปฏิบัติแบบชีวจิตมาใช้ร่วมกับการรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้ได้สุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ จึงเกิดเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพแบบใหม่ เป็นที่นิยม และแพร่หลายอย่างมาก นั่นก็คือ “อาหารชีวจิต”

อาหารชีวจิต เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่ ดร.สาทิส อินทรกำแหง ศึกษา และปรับปรุงจากหลักการของแมคโครไบโอติกส์ ให้เหมาะสมกับสภาพวิถีชีวิตของคนไทย กล่าวโดยรวมๆ อาหารชีวจิต คือ อาหารชั้นเดียว หมายถึง อาหารที่คงสภาพตามธรรมชาติเดิมไว้มากที่สุด ไม่ต้องผ่านการปรุงแต่งมากมาย และคงรสชาติเดิมของอาหารไว้มากที่สุด เป็นการนำความรู้ทางโภชนาการขั้นสูงมาพิจารณาอาหารต่างๆ แล้วเลือกสรรเฉพาะอาหารที่ให้คุณค่าแก่ร่างกาย และจิตใจมากที่สุด ที่สำคัญคือ เป็นอาหารที่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในร่างกายน้อยที่สุด

อาหารที่ควรงด ตามแนวทางชีวจิต

• เนื้อสัตว์ย่อยยาก ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่

• แป้งขัดขาว และผลิตภัณฑ์จากแป้งขัดขาวทุกชนิด

• น้ำตาลฟอกขาว และผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลฟอกขาวทุกชนิด

• ไขมันเลว คือ ไขมันอิ่มตัว ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม และกะทิ

กินตามสูตรสุขภาพ…แบบชีวจิต

1. อาหารประเภทแป้งไม่ขัดขาว

        เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นข้าวโพดทั้งเมล็ด หรือทั้งฝัก ถ้าเป็นแป้งขนมปัง ก็เป็นขนมปังโฮลวีท และแป้งกลุ่มคอมเพล็กซ์ คาร์โบไฮเดรต คือ แป้งหลายชั้น ซึ่งมีโปรตีนปนอยู่ด้วย โดยการเติมมันเทศ มันฝรั่ง เผือก และฟักทองลงไป

กลุ่มนี้ ควรรับประทาน 50 % หรือครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ

2. ผัก

        ใช้ทั้งผักดิบ และผักปรุงสุกอย่างละครึ่ง ที่สำคัญ ต้องล้างผักให้สะอาด หรือเลือกบริโภคผักที่ปลอดสารพิษ

กลุ่มนี้ ควรรับประทาน 25 % หรือหนึ่งในสี่ของอาหารแต่ละมื้อ

3. โปรตีน

        เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นอกจากนี้ควรบริโภคโปรตีนจากสัตว์เป็นครั้งคราว เช่น ไข่ ปลา และอาหารทะเล สัปดาห์ละ 1 – 2 มื้อ

กลุ่มนี้ ควรรับประทาน 15 % ของอาหารแต่ละมื้อ

4. เบ็ดเตล็ด

        • อาหารประเภทแกง เช่น แกงจืด แกงเลียง

        • อาหารประเภทซุป เช่น ซุปมิโซะ (ซุปเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น)

        • อาหารประเภทของขบเคี้ยว เช่น ถั่วคั่ว เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดงา

        • ผลไม้สด ที่มีรสชาติไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะม่วงดิบ พุทรา แอปเปิ้ล

กลุ่มนี้ ควรรับประทาน 10 % ของอาหารแต่ละมื้อ

อย่างไรก็ตาม อาหารชีวจิต นอกจากคำนึงถึงคุณประโยชน์แล้ว ยังให้ความสำคัญกับความอร่อย และหน้าตาของอาหาร แม้ว่ารสชาติจะไม่จัดจ้าน แต่ก็มีความกลมกล่อมแบบพอดีๆ ที่สำคัญ หากคุณต้องการเน้นสุขภาพแบบชีวจิต การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ควรคำนึงถึงความสมดุลตามสัดส่วนของชีวจิตด้วย

ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารตามแนวทางของชีวจิตนั้น มองผิวเผินอาจมีความลึกซึ้ง เข้าใจยาก แต่ในทางปฏิบัติจริงนั้น ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และเข้าถึงแก่นแท้ของธรรมชาติอย่างแท้จริง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    • ดร.สาทิส อินทรกำแหง
    • นิตยสารชีวจิต

The post โภชนาการอาหารชีวจิต appeared first on Food for Healthy & Exercise.



* This article was originally published here

No comments:

Post a Comment